สื่อเพศวิถี 4 ปากต่อปาก
สาระสำคัญ การเข้าใจถึงอิทธิพลของกระบวนการหล่อหลอมทางสังคมที่มีต่อความคิด ความเชื่อ และการกระทำของบุคคล ทำให้เข้าใจที่มา หรือพื้นฐานของชุดความคิด ความเชื่อ ค่านิยมของตนเองในเรื่องต่างๆ ที่อาจเหมือนหรือต่างจากบรรทัดฐานของครอบครัว หรือสังคมก็ได้ และเรียนรู้ที่จะประเมินและเลือกรับค่านิยม คำสอนมาปฏิบัติตามอย่างผู้ที่รู้จักตนเอง เข้าใจสังคมและคนรอบข้าง
จุดประสงค์
. ระบุค่านิยมและการอบรมสั่งสอนของสังคมที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในช่วงวัยรุ่น
. วิเคราะห์ถึงผลของค่านิยมและการอบรมดังกล่าวต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น
. ยกตัวอย่างความขัดแย้งของคำสอน/ค่านิยมในเรื่องเพศ กับสภาพสังคมของวัยรุ่นในปัจจุบัน
อุปกรณ์ และสื่อ
. กระดาษฟลิปชาร์ท กระดาษกาว ปากกาเคมี
. แผ่นกิจกรรมปากต่อปาก สำหรับหญิงและชาย เท่าจำนวนผู้เรียน
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
. ผู้ดำเนินกิจกรรมชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมว่าเป็นการทบทวนสิ่งที่เราถูกบอกหรือถูกสอนในเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ (๓ นาที)
. ผู้ดำเนินกิจกรรมแจก แผ่นกิจกรรมปากต่อปาก ให้ผู้เรียนแต่ละคน โดยให้เขียนสิ่งที่ถูกบอก ถูกสอนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ทั้ง ๖ เรื่องตามที่ระบุ ให้เวลา ๕ นาที
三. จากนั้น แบ่งผู้เรียนออกเป็น ๖ กลุ่ม คละหญิงชาย แจกกระดาษฟลิปชาร์ทให้กลุ่มละ ๑ แผ่น โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับมอบหมาย ๑ หัวข้อ
หัวข้อสำหรับกลุ่มย่อย ๖ กลุ่ม (เลือกกลุ่มละ ๑ เรื่อง)
. สิ่งที่วัยรุ่นหญิงชายถูกบอก/ถูกสอน เรื่อง “การคบเพื่อน”
. สิ่งที่วัยรุ่นหญิงชายถูกบอก/ถูกสอน เรื่อง “การมีแฟนในวัยเรียน”
. สิ่งที่วัยรุ่นหญิงชายถูกบอก/ถูกสอน เรื่อง “ความสัมพันธ์แบบรักเพศเดียวกัน”
. สิ่งที่วัยรุ่นหญิงชายถูกบอก/ถูกสอน เรื่อง “การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน”
. สิ่งที่วัยรุ่นหญิงชายถูกบอก/ถูกสอน เรื่อง “การตั้งครรภ์ในวัยเรียน”
. สิ่งที่วัยรุ่นหญิงชายถูกบอก/ถูกสอน เรื่อง “การคบและปฏิบัติตัวกับเพื่อนต่างเพศ”
|
ให้เวลา ๑๐ นาที ให้กลุ่มช่วยกันดังนี้
. รวบรวมสรุปสิ่งที่สมาชิกแต่ละคนถูกบอกในเรื่องนั้นๆ โดยแยกหญิงชาย
. ให้อภิปราย และช่วยกันตอบคำถามต่อไปนี้
- เห็นด้วยหรือไม่กับคำบอก/คำสอนในเรื่องนั้นๆ ให้เหตุผล
- มีข้อสังเกตอย่างไรบ้างต่อคำสอนที่สอนหญิงกับชายในเรื่องเดียวกัน
- คิดว่าวัยรุ่นสามารถทำตามสิ่งที่ถูกบอก ถูกสอน มากน้อยเพียงไร เพราะเหตุใด
- ในการเลือกว่าจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามค่านิยมหรือคำสั่งสอนที่ได้รับ วัยรุ่นควรพิจารณาจากอะไรบ้าง
. เมื่อหมดเวลา ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลการอภิปรายในกลุ่มของตัวเอง ให้เวลากลุ่มละ ๓ นาที
. เมื่อนำเสนอครบทุกกลุ่มแล้ว ผู้ดำเนินกิจกรรมชวนคิด โดยใช้คำถามดังนี้
คำถามชวนคิด
· หากเรามีความเชื่อหรือค่านิยมที่แตกต่างไปจากกรอบค่านิยมที่ถูกบอกมา เราจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกับผู้ใหญ่
· ถ้าเราเป็นผู้ใหญ่ สิ่งที่เราอยากบอกวัยรุ่นในเรื่องทั้ง ๖ เรื่อง คืออะไร เพราะอะไร
· หากต้องการให้วัยรุ่นตระหนัก หรือคิดในเรื่องต่างๆ ที่คุยกัน นักเรียนคิดว่าผู้ใหญ่ควรจะทำอะไรอีก
สรุปประเด็นสำคัญ
- ในแต่ละสังคม จะมีแนวปฏิบัติและค่านิยมที่เป็นบรรทัดฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคม รวมถึงแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ในแต่ละรูปแบบด้วย
- วัยรุ่น มักเป็นเป้าหมายการดูแลของผู้ใหญ่อย่างเข้มงวด เพราะถูกมองว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น โดยเฉพาะเรื่องการคบเพื่อน การมีแฟน และการมีเพศสัมพันธ์
- แม้กรอบค่านิยมจะถูกอ้างอิงเสมอว่าเป็นแนวทางที่คนส่วนใหญ่นิยมปฏิบัติ แต่ในความเป็นจริง หลายเรื่องก็ยากจะปฏิบัติตามเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป บางเรื่องมีการกระทำที่เปลี่ยนไปแล้ว แต่ค่านิยมเปลี่ยนตามไม่ทัน บางเรื่องค่านิยมก็เปลี่ยนไปแล้วแต่มีการกระทำของบุคคล กลุ่มคนที่ยังไม่ได้ทำตามก็มีมาก เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของสังคม เราจึงไม่ควรมองเรื่องค่านิยมว่าเป็นสิ่งหยุดนิ่งตายตัว และควรเลือกรับค่านิยมอย่างผู้ที่รู้จักแยกแยะด้วยเหตุผลว่า อะไรเหมาะสมกับเงื่อนไขของเรา
- การเรียนรู้กติกาของสังคมช่วยให้รู้ว่าเราจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างไร หากข้อกำหนดของสังคมต่างจากสิ่งที่เราคิดและปฏิบัติ ก็ต้องพร้อมที่จะรับผลที่เกิดตามมาอย่างผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อการเลือกของตัวเอง
ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ดำเนินกิจกรรม
- ผู้ดำเนินกิจกรรมควรช่วยกระตุ้นให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนในกลุ่มย่อย
- ในประเด็นเรื่องรักเพศเดียวกัน หากมีทัศนคติในทางลบ หรือในเชิงล้อเลียนรุนแรง ควรให้ข้อมูลเรื่องนี้เพิ่มเติมว่าเป็นพฤติกรรมแบบหนึ่งที่เป็นไปตามความสนใจทางเพศที่คนสามารถมีแตกต่างกันตามธรรมชาติ ซึ่งไม่ได้ถือเป็นความเบี่ยงเบนหรือเป็นความผิดปกติใดๆ
- ประเด็นเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนะในเชิงตัดสินคุณค่า เพราะอาจมีผู้เรียนบางคนที่มีประสบการณ์ดังกล่าว และหากต้องการเสริม ควรเน้นเรื่องผลที่ตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์และวิธีการป้องกัน รวมทั้งการชี้ให้เห็นว่า การเลือกมีหรือไม่มีเพศสัมพันธ์ เป็นทางเลือกเสมอไม่ได้ขึ้นกับว่าผู้นั้นเคยหรือไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
แผ่นกิจกรรม 1. การคบเพื่อน 2. การมีแฟนในวัยเรียน 3. ความสัมพันธ์แบบเดียวกัน 4. การตั้งครรภ์ในวัยเรียน 5. การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน 6. การคบและการปฏิบัติตัวต่อเพื่อนต่างเพศ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 202.53 KBs
Upload : 2015-07-11 10:11:22
|
|
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
|
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สุขศึกษาและพลศึกษา
|
|
|